ควันหลง ‘หงส์-ไก่’ ทำไม ‘เคน’ ไม่ล้ำหน้า?
Tue 13 Feb 2018, 15:37
แม้ว่าเกมที่ ลิเวอร์พูล ถูกทาง ท็อตแน่ม ฮอต สเปอร์ส ฉกเอาหนึ่งแต้มจากผลเสมอ 2-2 ในช่วงเกมจะจบไปตั้งแต่วันอาทิตย์ แต่ควันหลงที่เหลืออยู่จากเกมดังกล่าว ดูท่าทางจะยังไม่จางหายหรือเบาบางลงซะเลย
ที่จริงแล้วเกมนี้ควรจะถูกบรรจุขึ้นแท่นหนึ่งเกมสุดมันส์ คุณภาพคับแก้วในการเอนเตอร์เทรนผู้ชมมากที่สุดเกมหนึ่งประจำฤดูกาลนี้ เพราะทั้งสองทีมเปิดหน้าแลกหมัดกันแบบไม่มีใครกลัวใคร ปล่อยของโชว์เกมรุกกันอย่างเต็มที่ ทั้งยังมีลูกยิงสุดสวยของวิกเตอร์ วานยาม่า, การโซโล่สเต็ปเทพของโม ซาลาห์และการแก้เกมของเมาริซิโอ้ โปเช็ตติโน่ในช่วงครึ่งหลัง
แต่ประเด็นที่คนให้ความสนใจมากไปกว่านั้นและยังคงถกเถียงกันจนถึงวันนี้ก็คือจังหวะการเป่าจุดโทษให้แก่ทีมเยือนอย่าง “ไก่เดือยทอง” ทั้งสองครั้งของผู้ตัดสินในเกมนี้อย่าง จอน มอสส์ และ เอ็ดดี้ สมาร์ท ไลน์แมน
อันนี้ขออนุญาตข้ามประเด็นจุดโทษที่ 2 ไป เนื่องจากเกรงว่าจะยืดเยื้อจนเกิน
หลักใหญ่ใจความที่เป็นที่พูดถึงและเป็นประเด็นในที่นี่ก็คือ ทำไมจุดโทษครั้งแรก แฮร์รี่ เคน จึงไม่ล้ำหน้า ?
จังหวะดังกล่าวเป็นการทำเกมบุกของ “ไก่เดือยทอง” ที่หวังจะพลิกกลับมานำ โดยพยายามที่จะไหลบอลไปให้กับ เคน ที่ยืนอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้า ห่างจากกองหลังของ ลิเวอร์พูล ไม่ไกล บอลแฉลบ เดยาน ลอฟเรน ที่พยายามล้มตัวสกัด แต่พลาด โดนบอลเพียงแค่เล็กน้อย เคน จึงหลุดเข้าไปดวลกับลอริส คาลิอุส ก่อนจะนำมาซึ่งจุดโทษ ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นว่าเจ้าตัวพุ่งล้มหรือไม่
ถึงการพุ่งล้มหรือไม่นั้นจะเป็นที่น่าถกเถียง แต่ก็ไม่สำคัญเท่ากับ ทำไมการที่ เคน ซึ่งอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าถึงกลายเป็นไม่ล้ำเสียอย่างนั้น เมื่อบอลสัมผัสโดนขาของ ลอฟเรน !
ในเมื่อเอาใครมาดูก็เห็นกันได้อย่างชัดเจนอยู่แล้วว่า ผู้เล่นของ สเปอร์ส ต้องการที่จะส่งบอลให้ หัวหอกทีมชาติอังกฤษ ซึ่งอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าแบบทนโท่อยู่แล้ว ฉะไหนเลยเล่าการที่บอลจะโดนขาของกองหลังก่อนหรือไม่ถึงสำคัญและเป็นตัวตัดสินจังหวะนี้ไปซะได้
เรื่องนี้มีคำตอบครับ …
ซึ่งแน่นอนว่า คำตอบ มันก็อยู่ในตัวกฎระเบียบว่าด้วยเรื่องของการ ล้ำหน้า ของทาง ฟีฟ่า เองนั่นแหละครับ ซึ่งจากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลมาแล้วนั้น ผมขอสรุปดังนี้ครับ
‘การล้ำหน้า’ ในรูปแบบที่บอลซึ่งฝ่ายรุกจ่ายขึ้นหน้าไปแล้ว นอกเหนือจากการที่ต้องพิจารณาว่า ผู้เล่นที่ยืนล้ำหน้าอยู่นั้นมีส่วนร่วมหรือมีอิทธิพลต่อการเล่นในจังหวะนั้นหรือไม่แล้ว ในกรณีที่มีการ ‘สัมผัสโดนนักเตะของฝ่ายรับ’ ก่อนนั้น จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบด้วยกัน คือ
1.การโดนบอลแบบตั้งใจที่จะเล่น(ไม่ล้ำหน้า)
2.การโดนบอลแบบไม่ได้ตั้งใจที่จะเล่น(ล้ำหน้า)
ก่อนอื่นจะขออธิบายแบบที่ 1 ก่อนซึ่งก็คือ การโดนบอลแบบตั้งใจเล่น(ไม่ล้ำหน้า) โดยจะประกอบไปด้วยปัจจัยวิเคราะห์ที่จะชี้เฉพาะว่าเข้าข่ายในลักษณะนี้ได้จาก ;
- นักเตะ(ทีมรับ)เคลื่อนที่เข้าหาบอล
- คาดการณ์ได้ชัดเจนว่าบอลมาทางไหน
- แสดงออกทางการเคลื่อนไหวชัดเจนว่าต้องการเล่นบอล
- มีเวลาคิดก่อนที่บอลจะมาถึงตัว
- ศูนย์ถ่วงการยืนปกติ พร้อมที่จะเล่นบอล
นี่คือข้อพิจารณาว่าเข้าข่าย การโดนบอลแบบตั้งใจที่จะเล่น หรือไม่ของทางผู้ตัดสิน ซึ่งพูดได้อีกอย่างว่า เป็นความผิดพลาดของตัวผู้เล่น(ทีมรับ)เอง ผู้เล่นทีมรุกจึง ไม่ล้ำหน้า ครับ
ที่นี่เรามาดูแบบที่ 2 ซึ่งก็คือ การโดนบอลแบบไม่ได้ตั้งใจที่จะเล่น(ล้ำหน้า) กันบ้าง ซึ่งตัวชี้วัดจะประกอบไปด้วย ;
- บอลพุ่งเข้าหาตัวนักเตะ(ทีมรับ)เองโดยตรง
- เล่นแบบไม่ทันคิด
- ไม่มีเวลาเพียงพอให้คิดที่จะเล่นบอล
- เสียหลักหรือไม่พร้อมที่จะเล่นบอล
หรือหากจะเรียกกันสั้นๆสำหรับรูปแบบที่ 2 นี้ก็คือ ‘บอลแฉลบ’ นั่นแหละครับ ซึ่งไม่ใช่ความผิดพลาดของตัวผู้เล่น(ทีมรับ)เองเหมือนอย่างรูปแบบที่ 1 ฉะนั้นจังหวะนี้ทีมรุกจึง ล้ำหน้า หากยืนอยู่สูงกว่ากองหลัง
มันจึงอยู่ที่ ดุลยพินิจ ของผู้ตัดสินในเกมนั้นๆ เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น
และดูเหมือนว่าดุลยพินิจของ มอสส์ ในเกมนี้มองว่าเป็นจังหวะเจตนาเล่นบอลของทาง ลอฟเรน เอง มีเวลาคิด มีการเคลื่อนที่เข้าหาบอลจากตำแหน่งเดิม แล้วดันสกัดไม่ดีพอ จนทำให้บอลทะลักหลุดไปถึง เคน ซึ่งแม้ว่าจะล้ำหน้า ก็กลับกลายเป็นไม่ล้ำไป
จึงพูดได้ว่า มอสส์ พิจารณาและปฏิบัติตามกฎระเบียบที่มีไว้ โดยให้ใช้ดุลยพินิจตามกรณีที่เกิดขึ้นก็ไม่ผิดนัก
เพียงแต่ … ผมมองว่า ปัญหามันก็อยู่ที่คำว่า ‘ดุลยพินิจ’ นี่แหละครับ !
ด้วยการที่ตัวกฎนั้นไม่ได้ชี้เฉพาะหรือฟันธงถึงขอบเขตของการตัดสินใจ มันจึงขึ้นอยู่กับผู้ตัดสินเลยว่าควรจะต้องดุลยพินิจตัดสินยังไง
ยกตัวอย่างเช่น การมองว่าผู้เล่นทีมรับอยู่ในสภาพพร้อมเล่นหรือไม่ มันไม่ได้มีเส้นขีดตายตัวว่าต้องเป็นแบบไหน หรือจะเป็นการพิจารณาถึงเงื่อนเวลาว่ามีเพียงพอต่อการเล่นบอลในจังหวะนั้นๆหรือไม่ เป็นต้น ย่อมมีความแตกต่างกันไปตามแต่คนอยู่แล้ว
หรืออย่างจังหวะนี้จริงๆแล้วสามารถมองได้ว่า เคน มีอิทธิพลต่อการเล่นของ ลอฟเรน ใช่หรือไม่? เพราะหากไม่มี เคน อยู่ใกล้ๆ ลอฟเรน อาจจะเลือกปล่อยบอลไหลให้ คาริอุส วิ่งมารับก็เป็นได้ ฉะนั้นถ้ามองมุมนี้ก็เป็นล้ำหน้าได้เช่นเดียวกัน
ตรงนี้เองที่ผมมองว่ากฎมันไม่เคลียร์ ผิดกับกฏระเบียบตัวเก่าที่ใช้ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในปี 2015 ซึ่งตอนนั้นไม่ว่าบอลจะมาแบบไหน โดนผู้เล่นทีมรับยังไง ผิดพลาดเองไหม ถ้าตัวรุกยืนล้ำหน้าในจังหวะที่เพื่อนจ่ายบอลออกมาให้ ถือว่าล้ำหน้าทั้งนั้น ส่วนจังหวะที่ไม่ล้ำหน้านั้น ผู้เล่นทีมรับแสดงออกชัดเจนว่าต้องการเล่นบอล มีบอลอยู่ในการครอบครอง แล้วเกิดความผิดพลาดขึ้นโดยตนเอง นึกภาพตามง่ายๆก็คือ จังหวะที่กองหลังจ่ายกลับหลังพลาดแล้วโดนกองหน้าฝ่ายตรงข้ามฉกเข้าไปยิง แม้ว่าจะยืนอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าก็ตามยังไงล่ะครับ
มันจึงทำให้เสียงของผู้วิเคราะห์ รวมทั้งผู้ตัดสินในอดีตแต่ละคนในจังหวะนี้แตกออกเป็นสองฝ่าย เพราะมุมมองและดุลยพินิจของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น มาร์ค แคลตเทนเบิร์ก อดีตเปาพรีเมียร์ ลีกมองว่า เป็นจังหวะล้ำหน้า ขณะเดียวกัน เดอร์ม็อต กัลลาเกอร์ อดีตผู้ตัดสินมือดีอีกกลับมองว่า มอสส์ ตัดสินได้ถูกต้องแล้ว
ฉะนั้นแล้วจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เราน่าจะได้คำตอบแล้วว่า มันไม่ใช่ความผิดพลาดของผู้ตัดสินแบบ 100%
หากแต่เป็นการทับซ้อนกันของการตีความของการใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจของตัวบทกฎระเบียบนั่นเองแหละครับ
------------------------------------------------------------------------------
ปล.ติชมได้เช่นเคยนะครับ ขอบคุณมากครับ
Cr:soccersuck.com
ที่จริงแล้วเกมนี้ควรจะถูกบรรจุขึ้นแท่นหนึ่งเกมสุดมันส์ คุณภาพคับแก้วในการเอนเตอร์เทรนผู้ชมมากที่สุดเกมหนึ่งประจำฤดูกาลนี้ เพราะทั้งสองทีมเปิดหน้าแลกหมัดกันแบบไม่มีใครกลัวใคร ปล่อยของโชว์เกมรุกกันอย่างเต็มที่ ทั้งยังมีลูกยิงสุดสวยของวิกเตอร์ วานยาม่า, การโซโล่สเต็ปเทพของโม ซาลาห์และการแก้เกมของเมาริซิโอ้ โปเช็ตติโน่ในช่วงครึ่งหลัง
แต่ประเด็นที่คนให้ความสนใจมากไปกว่านั้นและยังคงถกเถียงกันจนถึงวันนี้ก็คือจังหวะการเป่าจุดโทษให้แก่ทีมเยือนอย่าง “ไก่เดือยทอง” ทั้งสองครั้งของผู้ตัดสินในเกมนี้อย่าง จอน มอสส์ และ เอ็ดดี้ สมาร์ท ไลน์แมน
อันนี้ขออนุญาตข้ามประเด็นจุดโทษที่ 2 ไป เนื่องจากเกรงว่าจะยืดเยื้อจนเกิน
หลักใหญ่ใจความที่เป็นที่พูดถึงและเป็นประเด็นในที่นี่ก็คือ ทำไมจุดโทษครั้งแรก แฮร์รี่ เคน จึงไม่ล้ำหน้า ?
จังหวะดังกล่าวเป็นการทำเกมบุกของ “ไก่เดือยทอง” ที่หวังจะพลิกกลับมานำ โดยพยายามที่จะไหลบอลไปให้กับ เคน ที่ยืนอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้า ห่างจากกองหลังของ ลิเวอร์พูล ไม่ไกล บอลแฉลบ เดยาน ลอฟเรน ที่พยายามล้มตัวสกัด แต่พลาด โดนบอลเพียงแค่เล็กน้อย เคน จึงหลุดเข้าไปดวลกับลอริส คาลิอุส ก่อนจะนำมาซึ่งจุดโทษ ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นว่าเจ้าตัวพุ่งล้มหรือไม่
ถึงการพุ่งล้มหรือไม่นั้นจะเป็นที่น่าถกเถียง แต่ก็ไม่สำคัญเท่ากับ ทำไมการที่ เคน ซึ่งอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าถึงกลายเป็นไม่ล้ำเสียอย่างนั้น เมื่อบอลสัมผัสโดนขาของ ลอฟเรน !
ในเมื่อเอาใครมาดูก็เห็นกันได้อย่างชัดเจนอยู่แล้วว่า ผู้เล่นของ สเปอร์ส ต้องการที่จะส่งบอลให้ หัวหอกทีมชาติอังกฤษ ซึ่งอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าแบบทนโท่อยู่แล้ว ฉะไหนเลยเล่าการที่บอลจะโดนขาของกองหลังก่อนหรือไม่ถึงสำคัญและเป็นตัวตัดสินจังหวะนี้ไปซะได้
เรื่องนี้มีคำตอบครับ …
ซึ่งแน่นอนว่า คำตอบ มันก็อยู่ในตัวกฎระเบียบว่าด้วยเรื่องของการ ล้ำหน้า ของทาง ฟีฟ่า เองนั่นแหละครับ ซึ่งจากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลมาแล้วนั้น ผมขอสรุปดังนี้ครับ
‘การล้ำหน้า’ ในรูปแบบที่บอลซึ่งฝ่ายรุกจ่ายขึ้นหน้าไปแล้ว นอกเหนือจากการที่ต้องพิจารณาว่า ผู้เล่นที่ยืนล้ำหน้าอยู่นั้นมีส่วนร่วมหรือมีอิทธิพลต่อการเล่นในจังหวะนั้นหรือไม่แล้ว ในกรณีที่มีการ ‘สัมผัสโดนนักเตะของฝ่ายรับ’ ก่อนนั้น จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบด้วยกัน คือ
1.การโดนบอลแบบตั้งใจที่จะเล่น(ไม่ล้ำหน้า)
2.การโดนบอลแบบไม่ได้ตั้งใจที่จะเล่น(ล้ำหน้า)
ก่อนอื่นจะขออธิบายแบบที่ 1 ก่อนซึ่งก็คือ การโดนบอลแบบตั้งใจเล่น(ไม่ล้ำหน้า) โดยจะประกอบไปด้วยปัจจัยวิเคราะห์ที่จะชี้เฉพาะว่าเข้าข่ายในลักษณะนี้ได้จาก ;
- นักเตะ(ทีมรับ)เคลื่อนที่เข้าหาบอล
- คาดการณ์ได้ชัดเจนว่าบอลมาทางไหน
- แสดงออกทางการเคลื่อนไหวชัดเจนว่าต้องการเล่นบอล
- มีเวลาคิดก่อนที่บอลจะมาถึงตัว
- ศูนย์ถ่วงการยืนปกติ พร้อมที่จะเล่นบอล
นี่คือข้อพิจารณาว่าเข้าข่าย การโดนบอลแบบตั้งใจที่จะเล่น หรือไม่ของทางผู้ตัดสิน ซึ่งพูดได้อีกอย่างว่า เป็นความผิดพลาดของตัวผู้เล่น(ทีมรับ)เอง ผู้เล่นทีมรุกจึง ไม่ล้ำหน้า ครับ
ที่นี่เรามาดูแบบที่ 2 ซึ่งก็คือ การโดนบอลแบบไม่ได้ตั้งใจที่จะเล่น(ล้ำหน้า) กันบ้าง ซึ่งตัวชี้วัดจะประกอบไปด้วย ;
- บอลพุ่งเข้าหาตัวนักเตะ(ทีมรับ)เองโดยตรง
- เล่นแบบไม่ทันคิด
- ไม่มีเวลาเพียงพอให้คิดที่จะเล่นบอล
- เสียหลักหรือไม่พร้อมที่จะเล่นบอล
หรือหากจะเรียกกันสั้นๆสำหรับรูปแบบที่ 2 นี้ก็คือ ‘บอลแฉลบ’ นั่นแหละครับ ซึ่งไม่ใช่ความผิดพลาดของตัวผู้เล่น(ทีมรับ)เองเหมือนอย่างรูปแบบที่ 1 ฉะนั้นจังหวะนี้ทีมรุกจึง ล้ำหน้า หากยืนอยู่สูงกว่ากองหลัง
มันจึงอยู่ที่ ดุลยพินิจ ของผู้ตัดสินในเกมนั้นๆ เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น
และดูเหมือนว่าดุลยพินิจของ มอสส์ ในเกมนี้มองว่าเป็นจังหวะเจตนาเล่นบอลของทาง ลอฟเรน เอง มีเวลาคิด มีการเคลื่อนที่เข้าหาบอลจากตำแหน่งเดิม แล้วดันสกัดไม่ดีพอ จนทำให้บอลทะลักหลุดไปถึง เคน ซึ่งแม้ว่าจะล้ำหน้า ก็กลับกลายเป็นไม่ล้ำไป
จึงพูดได้ว่า มอสส์ พิจารณาและปฏิบัติตามกฎระเบียบที่มีไว้ โดยให้ใช้ดุลยพินิจตามกรณีที่เกิดขึ้นก็ไม่ผิดนัก
เพียงแต่ … ผมมองว่า ปัญหามันก็อยู่ที่คำว่า ‘ดุลยพินิจ’ นี่แหละครับ !
ด้วยการที่ตัวกฎนั้นไม่ได้ชี้เฉพาะหรือฟันธงถึงขอบเขตของการตัดสินใจ มันจึงขึ้นอยู่กับผู้ตัดสินเลยว่าควรจะต้องดุลยพินิจตัดสินยังไง
ยกตัวอย่างเช่น การมองว่าผู้เล่นทีมรับอยู่ในสภาพพร้อมเล่นหรือไม่ มันไม่ได้มีเส้นขีดตายตัวว่าต้องเป็นแบบไหน หรือจะเป็นการพิจารณาถึงเงื่อนเวลาว่ามีเพียงพอต่อการเล่นบอลในจังหวะนั้นๆหรือไม่ เป็นต้น ย่อมมีความแตกต่างกันไปตามแต่คนอยู่แล้ว
หรืออย่างจังหวะนี้จริงๆแล้วสามารถมองได้ว่า เคน มีอิทธิพลต่อการเล่นของ ลอฟเรน ใช่หรือไม่? เพราะหากไม่มี เคน อยู่ใกล้ๆ ลอฟเรน อาจจะเลือกปล่อยบอลไหลให้ คาริอุส วิ่งมารับก็เป็นได้ ฉะนั้นถ้ามองมุมนี้ก็เป็นล้ำหน้าได้เช่นเดียวกัน
ตรงนี้เองที่ผมมองว่ากฎมันไม่เคลียร์ ผิดกับกฏระเบียบตัวเก่าที่ใช้ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในปี 2015 ซึ่งตอนนั้นไม่ว่าบอลจะมาแบบไหน โดนผู้เล่นทีมรับยังไง ผิดพลาดเองไหม ถ้าตัวรุกยืนล้ำหน้าในจังหวะที่เพื่อนจ่ายบอลออกมาให้ ถือว่าล้ำหน้าทั้งนั้น ส่วนจังหวะที่ไม่ล้ำหน้านั้น ผู้เล่นทีมรับแสดงออกชัดเจนว่าต้องการเล่นบอล มีบอลอยู่ในการครอบครอง แล้วเกิดความผิดพลาดขึ้นโดยตนเอง นึกภาพตามง่ายๆก็คือ จังหวะที่กองหลังจ่ายกลับหลังพลาดแล้วโดนกองหน้าฝ่ายตรงข้ามฉกเข้าไปยิง แม้ว่าจะยืนอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าก็ตามยังไงล่ะครับ
มันจึงทำให้เสียงของผู้วิเคราะห์ รวมทั้งผู้ตัดสินในอดีตแต่ละคนในจังหวะนี้แตกออกเป็นสองฝ่าย เพราะมุมมองและดุลยพินิจของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น มาร์ค แคลตเทนเบิร์ก อดีตเปาพรีเมียร์ ลีกมองว่า เป็นจังหวะล้ำหน้า ขณะเดียวกัน เดอร์ม็อต กัลลาเกอร์ อดีตผู้ตัดสินมือดีอีกกลับมองว่า มอสส์ ตัดสินได้ถูกต้องแล้ว
ฉะนั้นแล้วจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เราน่าจะได้คำตอบแล้วว่า มันไม่ใช่ความผิดพลาดของผู้ตัดสินแบบ 100%
หากแต่เป็นการทับซ้อนกันของการตีความของการใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจของตัวบทกฎระเบียบนั่นเองแหละครับ
------------------------------------------------------------------------------
ปล.ติชมได้เช่นเคยนะครับ ขอบคุณมากครับ
Cr:soccersuck.com
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ